ภาคชุมชน
การทำงานของมูลนิธิกับชุมชน เริ่มต้นจากการทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา คุณแบงกอก เชาวน์ขวัญยืน ดร.สุชิน เพ็ชรักษ์ และคณะทำงานจากมูลนิธิศึกษาพัฒน์อีกหลายท่าน เป้าหมายสำคัญคือการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาประชาชนที่เป็นเกษตรกรรากหญ้า ใช้การเรียนรู้เป็นจุดเปลี่ยน ให้รากหญ้ากลายเป็นรากแก้ว ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ใช้การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของตนเอง ให้พ้นจากสภาพหนี้สินล้นพ้นตัว รู้จักการจัดการรายได้และรายจ่ายของตนเองและครอบครัว รูัจักการวางแผนในการทำงาน การวางแผนการเพาะปลูก การลงทุน
สมาชิกเครือค่ายภาคชุมชน
No. | รายชื่อสถาบัน | ที่อยู่ | เบอร์ติดต่อ |
---|---|---|---|
1 | ชุมชนบ้านสามขา | หมู่ที่ 6 ตำบลหัวเสือ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 52150 | www.bansamkha.com |
2 | ชุมชนบ้านลิ่มทอง | ชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110 | www.limthong.haii.or.th |
รายชื่อโปรเจคที่เคยทำร่วมกับภาคธุรกิจ
บ้านลิ่มทอง
การพัฒนาของชุมชนบ้านลิ่มทอง เริ่มต้นจากการพัฒนาตนเองของนางสนิท ทิพย์นางรอง หรือน้าน้อย ชาวบ้านในหมู่บ้านที่มูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้เข้ามามีบทบาทในการสอนให้น้าน้อยรู้จักการอ่านเขียนภาษาไทย และฝึกจดบันทึก เพื่อใช้ในการจดบัญชีครัวเรือน บันทึกการเพาะปลูก การใช้ชีวิตประจำวัน ปัญหาต่างๆที่พบเห็น และวิธีการแก้ปัญหา และทางมูลนิธิไทยคมผ่านทางมูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้มอบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยน้าน้อยในการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้น คำนวนสรุปค่าใช้จ่ายออกมาเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้น้าน้อยเห็นถึงปัญหาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และสามารถลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในครัวเรือนลงได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่น้าน้อยมองเห็นโอกาสให้เยาวชนและคนในชุมชนได้เรียนรู้ จึงร่วมกับมูลนิธิฯจัดตั้งเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้แบบทฤษฏีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา ที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้เที่ยวกับเทคโนโลยีที่ได้รับมาใช้ในการค้นคว้าสิ่งที่สนใจอยากเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
บ้านสามขา
การเรียนรู้แบบ Constructionism เริ่มเข้าไปในบ้านสามขาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หลังจากที่หมู่บ้านได้รับผลหระทบจากการขยายความเจริญเข้ามาในพื้นที่ ความเจริญที่เข้ามาทำให้ผู้คนในหมู่บ้านเริ่มประสบปัญหาความแร้นแค้นทั้งทางวัตถุละจิตใจ มีหนี้สินและปัญหายาเสพติด การเปรี่ยนแปลงเริ่มต้นขึ้นเมื่อ Facilitator เข้ามาให้ความรู้กับชาวบ้านในชุมชนตามแนวทาง Construtionism สอนวิธีการเรียนรู้จากการปฏิบัตจริง จดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล แก้ไขปัญหาตามสภาพปัญหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นการนำปัญหามาแชร์ ระดมความคิด ช่วยกันแก้ปัญหาแบบทุกคนในชุมชนและองค์กรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วม ส่งผลให้คนในชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นหมู่คณะ